top of page

แก้ฝุ่นอย่ากลัว คนด่าคัดค้าน พิจิตต แนะรัฐบาล พระราม2 หนัก ค่าพุ่งปรี๊ด 121


กรุงเทพฯและปริมณฑลยังผจญกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ช่วงสุดสัปดาห์ พบฝุ่นเกินค่ามาตรฐานพุ่ง ถึง 41 พื้นที่ โดยริมทางคู่ขนานถนนพระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ค่าฝุ่นพุ่งปรี๊ดถึง 121 มคก./ลบ.ม. กรมควบคุมมลพิษระบุสาเหตุเดิม “อากาศลอยตัวไม่ดี-ลมพัดอ่อน-ไม่มีฝน” ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาเตือนสัปดาห์หน้าต้องเฝ้าระวัง เช้ามีหมอก-ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมมากขึ้น รอ “ฝน-ลม-แดด” 3 ปัจจัยสำคัญจะทำให้สถานการณ์คลี่คลาย ขณะที่ “พิจิตต รัตตกุล” ชี้อย่าวางใจว่าฝุ่นจะลด หากไม่กล้าแก้ที่ต้นเหตุ แนะรัฐบาลใหม่อย่ากลัวกลุ่มผลประโยชน์คัดค้าน มิเช่นนั้นคนไทยต้องสูดอากาศพิษเหมือนเดิม กรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัด ยังคงต้องผจญกับมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน” หรือ PM 2.5 อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี โดยภาครัฐไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 26 ม.ค.นายพิจิตต รัตตกุล เลขาธิการองค์การระหว่างประเทศ ด้านภัยพิบัติในเอเชีย เปิดเผยถึงปริมาณฝุ่นพิษใน กทม.ว่าอย่าวางใจฝุ่นลดหรือไม่เพราะปีหน้าและปีต่อๆไป ชีวิตคนไทยก็ยังต้องเผชิญกับเหตุการณ์ซ้ำรอยอย่างนี้อีก เรื่องนี้เป็นเรื่องความเป็นความตายของคนไทยที่ต้องสูดอากาศบนแผ่นดินไทยที่เป็นพิษ และเป็นสิทธิที่ประชาชนจะต้องดิ้นรนหนีตายด้วยการเรียกร้องให้รัฐปกป้องชีวิตคนไทยเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด หลุดพ้นจากการถูกรมควันพิษทั่วเมือง โดยรัฐต้องมีมาตรการทั้งเฉพาะหน้าและมาตรการที่คืบไปข้างหน้า แม้จะไม่ง่ายเพราะจะมีกลุ่มผลประโยชน์คัดค้าน ก็ต้องลงมือทำอย่างในอดีตที่มีความยากลำบาก เราก็ทำได้สำเร็จมาแล้วหลายเรื่อง เช่น การห้ามสูบบุหรี่ในอาคาร โรงมหรสพ การเอาตะกั่วออกจากน้ำมัน เบนซิน ก็ทำได้ แม้จะโดนแย้งจากบริษัทน้ำมันและผู้ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูง รวมถึงการปรับอุณหภูมิการกลั่นดีเซลให้ลดลง เพื่อลดฝุ่น 10 ไมครอน ซึ่งเสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพราะได้ปริมาณน้ำมันน้อยลงกว่าเดิม นายพิจิตตยังกล่าวถึงรัฐบาลใหม่ที่จะได้ในอีกไม่นานนี้ด้วยว่า ต้องมีความมุ่งมาดอย่างแรงกล้าที่จะปกป้องชีวิตคนไทยให้ได้ แม้จะฝ่าด่านนานาอุปสรรค และเสียความนิยมจากกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มก็ตาม โดยมาตรการที่ต้องแก้ที่ต้นเหตุจากแหล่งจริงๆต้องเริ่มนับหนึ่งในทันทีและจะนำไปสู่การพัฒนาจนมลพิษหายไปในที่สุด พร้อมยกตัวอย่างในเมืองใหญ่ เช่น กทม.มีความชัดเจนที่สุดคือจากรถยนต์ 2 ล้านกว่าคัน ชนิดเครื่องยนต์ จะส่งเสริมรถแบตไฟฟ้าพันธุ์ผสมมั้ย สภาพรถบรรทุกใหญ่ที่วิ่งสู่กลางเมือง รถเมล์ไม่ว่าของรัฐ หรือของผู้รับ สัมปทานรถร่วม การเปลี่ยนแปลงระบบวิธีการตรวจเครื่องโดย ตรอ.การจัดเวลาวิ่ง เป็นกฎเข้ม เพื่อผลัดกันใช้พื้นที่ในถนน มาตรการบังคับไม่ติดเครื่องขณะจอดรถ มีค่าผ่านทางในพื้นที่หนาแน่นของการจราจร และที่สำคัญมีเจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจสอบบนถนนอย่างถี่ถ้วนสม่ำเสมอ มาตรการเหล่านี้ จะมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เป้าหมายและผลสุดท้ายคือ คนไทยไม่ตายนายพิจิตตกล่าวอีกว่า ขอให้การเมืองเป็นตัวนำที่จะพาไปสู่สังคมที่ปลอดภัยและมีสันติสุข โดยต้องเริ่มแก้ปัญหาที่โครงสร้างพื้นฐานหลักๆ หรือหลักการใหญ่ๆ ที่จะทำให้ยั่งยืน ส่วนปัจจุบันก็ทำมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพเฉพาะหน้าไปด้วยวันเดียวกัน กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานว่าจากสภาพอุตุนิยมวิทยา ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้าอากาศลอยตัวได้ไม่ดีมากนัก ลมพัดอ่อนและไม่มีฝน ส่งผลให้สถานการณ์ PM 2.5 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มขึ้นจากเมื่อวานทุกพื้นที่ มีค่าฝุ่นอยู่ที่ 53-121 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ซึ่งค่าฝุ่นตามมาตรฐานอยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ มีฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน ริมถนน 24 สถานี พื้นที่ทั่วไป 17 สถานี รวม 41 พื้นที่ โดยจุดที่มีค่าฝุ่นวิกฤติกระทบสุขภาพ มีค่าฝุ่นอยู่ที่ 121 มคก./ลบ.ม. คือ บริเวณริมทางคู่ขนานพระราม 2 อ.เมืองสมุทรสาคร พื้นที่ริมถนน ที่มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 24 สถานี ประกอบด้วย 1.ริมถนนกาญจนาภิเษก 2.ริมทางคู่ขนานถนนพระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 3.ริมถนนพระราม 4 4.ริมถนนอินทรพิทักษ์ 5.ริมถนนลาดพร้าว โชคชัยสี่ 6.ริมถนนดินแดง 7.ริมถนนพญาไท 8.ริมถนนตรีมิตร วงเวียนโอเดียน 9.ริมถนนพระราม 6 10.ริมถนนลาดพร้าว ซ.ลาดพร้าว 95 11.ริมถนนพระราม 4 ปทุมวัน 12.ริมถนนนราธิวาส13.ริมถนนพระราม 3-เจริญกรุง 14.ริมถนนพระราม 3 ยานนาวา 15.ริมถนนพหลโยธิน จตุจักร 16.ริมถนนนวมินทร์ บางกะปิ 17.ริมถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ 18.ริมถนนเจริญนคร คลองสาน 19.ริมถนนซอยนิคมบ้านพักรถไฟธนบุรี 5 บางกอกน้อย 20.ริมถนนเพชรเกษม ภาษีเจริญ 21.ริมถนนพหลโยธิน บางเขน 22.ริมถนนจรัญสนิทวงศ์ บางพลัด 23.ริมถนนพระราม 2 บางขุนเทียน และ 24.ริมถนนสามเสน พระนคร พื้นที่ทั่วไป เกินค่ามาตรฐาน 17 สถานี ประกอบ ด้วย 1.แขวงบางนา 2.ต.ทรงคะนอง จ.สมุทรปราการ 3.แขวงคลองจั่น บางกะปิ 4.แขวงดินแดง 5.ต.บางกรวย จ.นนทบุรี 6.ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 7.ต.ตลาด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 8. ต.ปากนํ้า อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 9.ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10.ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี11.แขวงพญาไท 12.แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง 13.ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม 14.แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร 15.แขวงคลองเตย 16.แขวงบางซื่อ และ 17.แขวงทุ่งสองห้องฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 79-149 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐานที่บริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ริมถนนคู่ขนาน พระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสาครสำหรับปัญหาฝุ่นละอองใน จ.นครปฐม ที่มี ปริมาณอยู่ในระดับต้นๆ ของประเทศ ปภ.นครปฐม รายงานว่า ฝุ่นเริ่มจางลงคุณภาพอากาศดีขึ้น ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลดลงเหลือ 75 มคก./ลบ.ม.แต่ยังเกินเกณฑ์มาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) ทั้งนี้ นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผวจ.นครปฐม สั่งให้ทหาร ตำรวจฝ่ายปกครอง หน่วยบรรเทาสาธารณภัย และท้องถิ่น นำรถดับเพลิงออกพ่นน้ำในพื้นที่ที่ค่าฝุ่นละอองมาก เพื่อชะล้างฝุ่นให้ตกลงสู่พื้นและฉีดน้ำล้างถนน ขณะนี้ ปริมาณฝุ่นที่ยังสูงอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ของ ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน ยังเกินกว่า 90 มคก./ลบ.ม. เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น และรถบรรทุกวิ่งมากขณะเดียวกัน นายสมคิด จันทมฤก ผวจ.สมุทรสาคร นายวสันต์ ไชยทวีวงศ์ หัวหน้า ปภ.สมุทรสาคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนำเครื่องพ่นละอองน้ำไปฉีดพ่น บริเวณโรงเรียนวัดราษฎร์รังสรรค์ ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร อยู่ติดกับถนนพระราม 2 โดยนายสมคิด กล่าวว่าปริมาณฝุ่นละออง ของ จ.สมุทรสาคร เป็นตัวแดงมา 2 วันแล้ว มาตรการเร่งด่วน คือนำเครื่องฉีดโปรยน้ำไปตามจุดต่างๆ ที่เป็นจุดเสี่ยง โดยเฉพาะบริเวณถนนพระราม 2 และชุมชนต่างๆ ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่อยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองสูง ระดมใช้น้ำล้างถนน ฉีดน้ำ เพื่อทำให้ค่าฝุ่นตามถนนลดลง และขอความร่วมมือไม่ให้เผาในพื้นที่โล่ง ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมจะสุ่มตรวจโรงงานที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ขณะที่การทำฝนหลวงยังไม่สามารถทำได้ ต้องรอให้สภาพอากาศเหมาะสมก่อน ต่อมาช่วงบ่าย ที่ตึกกรมควบคุมมลพิษ ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. เจ้าหน้าที่ คพ.ได้ติดตั้งอุปกรณ์พ่นละอองน้ำโมเลกุลขนาดเล็ก เพื่อทดสอบฉีดละอองน้ำ ดักจับฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน โดยก่อนหน้านี้ มีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว ที่ตึกของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งแล้วพบว่าละอองของน้ำที่ออกจากอุปกรณ์ดังกล่าว ทำให้ปริมาณฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอนลดลงได้ โดยนายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ที่มาสังเกตการณ์ระบุว่า ได้มีการทดลองระบบของอุปกรณ์พ่นน้ำ โดยจะดำเนินการเต็มรูปแบบในวันที่ 28 ม.ค.นี้ สำหรับสถานการณ์ฝุ่นละอองที่บริเวณทางคู่ขนาน ถนนพระรามสอง ที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ถึง 121 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการสร้างถนน ทำให้มีฝุ่นเกิดขึ้นมาสูง ด้านนายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า วันที่ 26-27 ม.ค.นี้ ความกดอากาศสูงจากจีนอ่อนกำลังลง ส่งผลให้ลักษณะอากาศมีหมอก มีลมอ่อนๆ แต่ไม่สามารถพัดฝุ่นละอองขนาดเล็กไปได้ ส่วนในวันที่ 28 ม.ค.จะมีลมพัดทำให้ฝุ่นละอองเจือจางลงเล็กน้อย แต่ช่วงวันที่ 29-31 ม.ค.นี้ สภาพอากาศทั่วไปทั้ง กทม.ปริมณฑลและภาคกลาง มีหมอกตอนเช้าและมีการสะสมของปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กมากขึ้น ต้องเฝ้าระวัง ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฝุ่นละออง PM2.5 คลี่คลาย มี 3 ปัจจัย คือ ฝน ลม และแสงแดด ถ้ามี ฝนตกลงมาจะช่วยชะล้างฝุ่นให้หายไปหรือลดลงได้ ส่วนลม จะช่วยพัดให้ฝุ่นกระจายไป และแสงแดด ถ้ามีแดดแรงๆ โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน จะทำให้อากาศมีการยกตัวลอยขึ้นได้ดี ทำให้ลมบริเวณข้างเคียง เช่น ลมทะเล พัดเข้ามา ก็ทำให้พัดฝุ่นละอองลอยสูงขึ้นไปที่อื่นได้สภาพอากาศก็จะดีขึ้น ที่มา : thairath

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page