top of page

อาการและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองตีบ


อาการและความรุนแรง

เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงแตกต่างและหลอดเลือดสมองก็มีขนาดต่างๆกันอาการของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลาการดำเนินของโรค ตำแหน่งที่หลอดเลือดเกิดการตีบตันในสมองและขนาดของหลอดเลือดที่ตีบตันว่าเป็นหลอดเลือดใหญ่หรือหลอดเลือดขนาดเล็กอาการของโรคแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับคือ

1. อาการน้อย อาการจะเป็นไม่มาก อาจมีเพียงพูดไม่ชัด มุมปากตก แขนขาไม่มีแรง แต่พอจะเดินได้มักไม่มีอาการปวดศีรษะ กลุ่มนี้ถ้าได้รับการรักษาในระยะแรกๆภายใน 2-4 สัปดาห์ มักจะกลับคืนเกือบปกติหรือหายเป็นปกติได้ในบางราย

2. อาการปานกลาง อาจจะ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจเกิดขึ้นทันทีทันใดและอ่อนแรงมากขึ้นจนขยับแขนขาไม่ได้หรือพูดไม่ได้เลย กลุ่มนี้จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเพื่อสังเกตอาการและรีบให้การรักษาในโรงพยาบาลเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ภายใน 3-5 วัน หลังจากเริ่มมีอาการปรากฏ เช่น ซึมลงจากภาวะสมองบวมหรือภาวะเลือดซึมในสมอง การฟื้นตัวในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเริ่มเห็นชัดประมาณสัปดาห์ที่ 3 อาการหลังจากนี้มักจะกลับมาเป็นปกติ อาจจะมีอาการเกร็งพูดไม่ชัด ซึ่งต้องทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องและต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ไม้เท้า รถเข็น

3. อาการหนัก มักไม่รู้สึกตัวตั้งแต่ต้น หรือมีอาการซึมลงอย่างรวดเร็วมากภายใน 24 ชั่วโมง กลุ่มนี้มักเกิดกับผู้ป่วยที่หลอดเลือดสมองขนาดใหญ่ตีบตัน ซึ่งในผู้ป่วยสูงอายุโดยมากจะโรคประจำตัวหลายอย่างอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือเคยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตมาก่อนกลุ่มนี้มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ได้แก่ การติดเชื้อในปอดจากการสำลัก สมองบวม

ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการดูแลในหออภิบาลผู้ป่วยหนักหรือหออภิบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพราะผู้ป่วยไม่สามารถจะหายใจได้เองและบางรายต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดสมองบวม เมื่อพ้นระยะวิกฤตแล้วผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้ระดับหนึ่งแต่ไม่มากเนื่องจากเนื้อสมองถูกทำลายไปมาก ส่วนใหญ่จะต้องใช้ชีวิตอยู่บนเตียงหรือรถเข็น มักจะต้องเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาบ่อยครั้งเพราะปัญหาการติดเชื้อ เช่น ปอดอักเสบ แผลกดทับ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ฯลฯ

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page