top of page

การหกล้มในผู้สูงอายุ


การหกล้มหลายคนอาจมองเป็นเรื่องธรรมดา เพราะใครๆก็หกล้มได้ แต่สำหรับผู้สูงอายุไทยแล้วไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะคนไทยมีปัญหาเรื่องโรคกระดูกพรุนค่อนข้างสูง การหกล้มแต่ละที่มีโอกาสทำให้เกิดกระดูกหักได้ง่ายๆ นำมาซึ่งโรคแทรก ซ้อนต่างๆมากมาย และสามารถ นำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รายงานไว้ว่า คนไทยป่วยด้วยโรคกระ ดูกพรุนมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งไม่น้อยเลย และส่วนใหญ่ก็เป็นผู้สูงอายุเสียด้วย ถ้าเราไม่จัดการเรื่องการป้องกันการหก ล้มในผู้สูงอายุเหล่านี้ให้ดีพอเรื่องใหญ่แน่ มาดูข้อมูลทางฝั่งสหรัฐกันบ้างเพื่อจะได้เห็นชัดเจนว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ในปี 2555 "Shell Point Retirement Community" องค์กรไม่แสวงกำไรแห่งหนึ่งของสหรัฐที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ได้รายงานข้อมูลที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญ หาการหกล้มของผู้สูงอายุเอาไว้ น่าสนใจมากครับ - การหกล้มเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นเป็น 2 เท่าของการเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัวด้วยเหตุผลอื่นๆของผู้สูงอายุ - ผู้สูงอายุเพศหญิงมีโอ กาสหกล้มได้มากกว่าเพศชาย - มีการรายงานกรณีการหกล้มของผู้สูงอายุเพียงแค่ 1 ใน 3 ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น ดังนั้น ข้อมูลการหก ล้มของผู้สูงอายุที่มีการบันทึกไว้จึงต่ำกว่าความเป็นจริงมาก - 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่เคยหกล้มไปแล้ว มีโอกาสที่จะเกิดการหกล้มครั้งใหม่ได้อีกภายในเวลา 6 เดือน - การหกล้มเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเสียชีวิตของ ผู้สูงอายุอเมริกันที่อายุ 65 ปีขึ้นไป โดยจากข้อมูลการเสียชีวิตของผู้สูงอายุอเมริกันในแต่ละปี พบว่าอย่างน้อยประ มาณปีละ 9,500 ราย ที่มีข้อ มูลว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาการหกล้มก่อนที่จะเสียชีวิต - การหกล้มที่เป็นเหตุนำไปสู่การเสียชีวิตเกินครึ่งเกิดขึ้นในคนที่อายุ 75 ปีขึ้นไป - ในผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65-69 ปี เมื่อเกิดการหกล้มจะพบปัญหากระดูกสะ โพกหักได้ถึง 1 ใน 200 ราย และจะพบปัญหานี้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ในผู้สูงอายุ 85 ปีขึ้นไป จะพบปัญหากระ ดูกสะโพกหักได้สูงถึง 1 ใน 10 ราย - 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุที่เกิดปัญหากระดูกสะโพกหักจาก การหกล้มจะเสียชีวิตภายใน 6 เดือนหลังจากการหกล้ม - แม้จะไม่เสียชีวิต แต่ปัญหาใหญ่ที่ผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องเผชิญก็คือ การไม่สามารถใช้ชีวิตตามปรกติได้อีกต่อไป และกลายเป็นภาระต่อผู้ดูแลเป็นอย่างมาก การหกล้มของผู้สูงอายุมีสาเหตุครับ ซึ่งเรื่องนี้สถาบันสุขภาพผู้สูงอายุแห่งสหรัฐอเม ริกาได้สรุปสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเอาไว้ดังนี้ -ปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา ดังนั้น การออกกำลังกล้ามเนื้อขาในผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็น ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการหกล้ม -ปัญหาการทรงตัวไม่ดี พอเคลื่อนไหวร่างกายจึงเกิดการเสียหลักและหกล้มได้ง่าย -ปัญหาการเวียนหน้าจาก ความดันเลือดตกเวลาเปลี่ยนท่า เช่น เปลี่ยนจากท่านอนหรือนั่งเป็นท่ายืน ร่างกายผู้สูงอายุปรับความดันเลือดได้ไม่ดี ทำให้ความดันเลือดต่ำชั่วขณะ เกิดอาการเวียนหน้า เซ และหกล้มได้ -ความกระฉับกระเฉงของร่างกายลดลง เรื่องนี้เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติของร่างกาย ซึ่งโดยธรรมชาติจะลดลงตามวัย ในคนหนุ่มสาวแค่รู้สึกตัวว่ากำลังเซปฏิกิริยาอัตโนมัติของร่างกายจะทำงานทันที เกิดการปรับท่าทางอย่างคล่อง แคล่วจนสามารถป้องกันตัวเองจากการหกล้มได้ ส่วนในผู้สูงอายุปฏิกิริยาอัตโนมัติที่ว่านี้ทำงานช้า กว่าจะทำงานก็พอดีหกล้มหน้าฟาดพื้นไปแล้ว -ปัญหาที่เท้าและรองเท้า การเจ็บที่เท้าทำให้ลงน้ำหนักไม่ได้เต็มที่และมั่นคงพอ เป็นเหตุให้หกล้มได้ง่ายเหมือนกัน หรือบางรายเกิดอาการชาบริเวณเท้าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ทำ ให้เท้ารับความรู้สึกได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งจะเป็นผลให้การสั่งการเกี่ยวกับการทรงตัวของสมองเสียไป ก็เกิดโอกาสที่จะหกล้มได้ง่าย -การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะ สมก็เป็นเหตุได้ เช่น ส้นรอง เท้าสูงไปทำให้ท่าการทรงตัวผิดไปจากธรรมชาติ ทำให้หกล้มได้ง่าย ใส่รองเท้าคับหรือหลวมไปจนเท้ารับสัมผัสได้ไม่ดีพอก็ทำให้หกล้มได้เช่นกัน -ปัญหาเรื่องสายตาก็มีส่วน เพราะการทรงตัวนั้นต้องอาศัยการมองเห็นด้วยร่างกายถึงจะทรงตัวได้ดี ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องนี้อยู่แล้วจึงหกล้มได้ง่ายกว่าคนหนุ่มสาว อีกอย่างคนที่สายตาไม่ดีมีโอ กาสที่จะเดินสะดุดและหกล้มได้ง่ายอยู่แล้ว -ปัญหาเรื่องการใช้ยา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวต้องกินยาประจำ ยาบางตัวอาจจะทำให้ความดันเลือดต่ำ เกิดอาการหน้ามืด เวียนหน้า ง่วงหรือมึนงง เป็นเหตุให้เกิดการหกล้มได้ ดังนั้น เวลาพาผู้สูงอายุไปหาหมอต้องถามหมอเสมอว่ายาที่ให้มานั้นมีผลต่อเรื่องนี้หรือไม่ ถ้ามีจะได้หาทางป้องกัน เรื่องนี้สำคัญมากครับ ผมเพิ่งถูกขอคำปรึกษาเมื่อไม่กี่วันมานี่เอง ลูกๆพาคุณพ่อไปหาหมอ หมอก็ให้ยาและบอกเพียงแค่ว่ายานี้กินแล้วอาจง่วงนะ แต่ไม่ได้เตือนเรื่องการหก ล้มเลย ผลก็คือคนไข้หกล้มหน้าฟาดพื้นจนฟันหักไปหนึ่งซี่ ซึ่งไม่น่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นเลย ถ้าทุกคนทั้งหมอและญาติระวังเรื่องการหกล้มของผู้สูงอายุกันสักหน่อย ปัญหานี้ไม่เกิดขึ้นแน่ นี่ยังดีนะครับที่มีปัญหาแค่ฟันหัก ไม่มีเรื่องอื่นที่ร้ายแรงกว่านี้ แต่ก็ไม่ควรจะเกิดขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่ป้องกันได้และต้องป้องกันอยู่แล้ว ลองทำความเข้าใจดูนะครับ อาจจะเป็นประโยชน์กับคนใกล้ชิดหรือแม้แต่ตัวเราเองก็ได้ แต่ที่อยากให้ดูมากๆก็คือเรื่องต่อไปนี้ครับ เมื่อปีที่แล้วนักวิจัยแคนาดากลุ่มหนึ่งได้ศึกษาการหกล้มของผู้สูงอายุว่าอะไรคือสาเหตุกันแน่ พวกเขาติดกล้องโทร ทัศน์วงจรปิดไว้ตามมุมต่างๆในบ้านพักผู้สูงอายุ เพื่อบันทึกภาพการหกล้มของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นทั้งหมดเพื่อนำมาวิเคราะห์ พวกเขาใช้เวลาบันทึกภาพอยู่ 3 ปี มีกรณีการหกล้มของผู้สูงอายุเกิดขึ้นทั้งหมด 227 ครั้ง และเมื่อวิเคราะห์ภาพทั้งหมดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อน ไหวร่างกายก็พบว่า สาเหตุสำ คัญของการหกล้มในผู้สูงอายุก็คือ การทรงตัวที่ไม่สมดุล นักวิจัยกลุ่มนี้ได้เสนอความเห็นว่า ผลการวิจัยชี้ว่า การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการฝึกการทรงตัวของผู้สูงอายุให้มากขึ้น ที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญเรื่องความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นหลัก ซึ่งนั่นไม่น่าจะเพียงพอต่อการป้องกันปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ การฝึกการทรงตัวที่ได้ผลดีมากคือการฝึกร่วมกับจัง หวะดนตรีครับ ไม่ว่าจะเป็น การเต้นรำ เต้นแอโรบิก ได้ทั้งเรื่องการทรงตัว สุขภาพ ความ สนุก และเพื่อน คุ้มเกินคุ้ม!! สาเหตุสำคัญการหกล้มในผู้สูงอายุคือการทรงตัวที่ไม่สมดุล การฝึกการทรงตัวที่ได้ผลดีมากคือการฝึกร่วมกับจังหวะดนตรี

นพ.อุดม เพชรสังหาร editor@LokWanNee.com

ที่มา : โลกวันนี้วันสุข ฉบับวันที่ 5 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 หน้า 46

http://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5532

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page